วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประเทศไทยกับงานด้านสาธารณสุขในกรอบอาเซียน




ประเทศไทยกับงานด้านสาธารณสุขในกรอบอาเซียน
                ความร่วมมือด้านสาธารณสุขในกรอบอาเซียน มีกลไกขับเคลื่อนคือการประชุมในระดับต่าง ๆ ได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน (ASEAN HEALTH MINISTERS’MEETING: AHMM) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาสาธารณสุข (SENIOROFFICIAL’S MEETING ON HEALTH DEVELOPMENT: ASEAN SOMHD) และการประชุมระดับคณะทำงาน/ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ รวม 10 ด้าน ได้แก่ โรคติดต่อ ความปลอดภัยด้านอาหารความร่วมมือด้านเทคนิคเกี่ยวกับยา การเตรียมพร้อมและรับมือกับโรคระบาด การควบคุมยาสูบเอดส์ สุขภาพจิต สุขภาพแม่และเด็ก โรคไม่ติดต่อ และการแพทย์ดั้งเดิม
                ประเทศไทย มีบทบาทนำในการผลักดันความร่วมมือด้านสาธารณสุขของอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ด้านการเตรียมพร้อมและรับมือโรคระบาด ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยทำหน้าที่ประธานและ “Coordinating Office” ของ เครือข่ายฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม (FieldEpidemiology Training Network: FETN) ในกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (ASEAN+3) ด้านสุขภาพจิต โดยประเทศไทยได้ริเริ่มให้มีการจัดประชุมคณะทำงานสุขภาพจิต ขึ้นเป็นครั้งแรกในอาเซียนและได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะทำงานสุขภาพจิตอาเซียน ASEAN Task Force on Mental Health (AMT) และดำรงตำแหน่งประธานอยู่ในปัจจุบันจนถึงสิ้นปี 2557 ด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment – HIA)โดยประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง HIA เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ จ. ภูเก็ต และ ด้านการควบคุมยาสูบ โดยประเทศไทยเป็นผู้เสนอและผลักดันแนวคิด “Towards Smoke Free ASEAN Campaign” เมื่อปี 2554
                ประเทศไทยในฐานะประธานการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน (AHMM) ระหว่างปี2555 - 2557 ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม AHMM ครั้งที่ 11 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การประชุม AHMM+3 และ AHMM+จีน รวมทั้ง การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 2 – 6 .. 2555 ที่ จ. ภูเก็ต ซึ่งการประชุมเหล่านี้ย้ำความสำคัญของประเด็นความร่วมมือด้านสาธารณสุข ได้แก่ การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases: NCD) การลดการบริโภคยาสูบ การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) และการควบคุมป้องกันโรคเอดส์
                กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินงานความร่วมมือด้านสาธารณสุขของอาเซียนได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านวิชาการจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน และคณะอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขของประเทศไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติที่ประชุม AHMM และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องข้างต้น โดยล่าสุด เมื่อเดือนสิงหาคม 2555
                ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการติดตามผลการดำเนินงาน โดยกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละประเด็นอย่างชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

บทบาทของไทยกับการก้าวสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC)




บทบาทของไทยกับการก้าวสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC)
                ภายในปีพุทธศักราช 2558 ไทยและประเทศสมาชิกสมาคมประชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนอีก 9 ประเทศ จะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนตามเป้าหมายที่ผู้นำอาเซียนกำหนดไว้ในปฏิญญาเซบู เมื่อปี พ.. 2551 ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องปฏิบัติตามแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาให้สมบูรณ์
                ในส่วนของการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ ASEAN Political-Security Community (APSC) วิสัยทัศน์ของการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน อยู่บนพื้นฐานของการจัดตั้งเป็นประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน การสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการนำไปสู่การขยายความร่วมมือในประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมรวมทั้งการสร้างประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ มีพลวัต และมองไปยังโลกภายนอก และมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น
                การทำให้ภูมิภาคมีความสงบสุขได้นั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงที่จะร่วมมือด้านการพัฒนาทางการเมืองให้บรรลุเป้าหมายที่จะส่งเสริมธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรม ป้องกันการทุจริต ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และส่งเสริมประชาธิปไตย อาเซียน โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง นอกจากนี้จะต้องแก้ไขปัญหาความมั่นคงในรูปแบบเดิมหรือที่เรียกว่า Traditional Security ซึ่งหมายถึงการสงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ และปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ หรือ Non-Traditional Security เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งครอบคลุม การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ โจรสลัด การลักลอบขนอาวุธ การฟอกเงิน การก่อการร้าย หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
                บทบาทของไทยในการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนที่ผ่านมาหลังจากมีการจัดทำแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เมื่อปี พ.. 2552 มีหลายประการ อาทิ การผลักดันให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการอาเซียน การส่งเสริมให้คณะมนตรีของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีผลงานเป็นรูปธรรม เช่น การสร้างความร่วมมือด้านการรักษาสันติภาพในภูมิภาค การยกระดับบทบาทของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติ และความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีการสร้างความโปร่งใสด้านนโยบายและข้อมูลทางทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในรูปแบบของการจัดทำรายงานการเมืองและความมั่นคงรายประเทศ
                ในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum- ARF) ไทยส่งเสริมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (ConfidenceBuilding Measures- CBMs) และการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลีในการจัดฝึกการฝึกซ้อมการบรรเทาภัยพิบัติในกรอบ ARF (Disaster Relief Exercise-DiREx) ระหว่างวันที่ 7-11 พฤษภาคม 2556 เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการภัยพิบัติของประเทศที่เข้าร่วม ARF โดยการประสานการปฏิบัติร่วมระหว่างหน่วยงานฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน นอกจากนี้ ไทยผลักดันให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง โดยผลักดันให้
ประเทศผู้มีอาวุธนิวเคลียร์ลงนามในพิธีสารสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone- SEANWFZ) เพื่อให้หลักประกันต่ออาเซียนในการไม่ใช้ ทดลอง หรือส่งผ่านอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคนี้ ในการจัดการเรื่องภัยพิบัติ ไทยได้ผลักดันจนเป็นผลสัมฤทธิ์ให้ผู้นำอาเซียนได้รับรองแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านอุทกภัย ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 เมื่อ พฤศจิกายน 2554เพื่อให้อาเซียนมีการจัดการเรื่องน้ำ อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม

การเตรียมความพร้อมของไทยสู่การเป็นประชาคมอาเซียน



การเตรียมความพร้อมของไทยสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
1. เป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
                1.1 อาเซียนมีเป้าหมายจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในวันที่ 31 ธันวาคม 2558โดยวิสัยทัศน์ร่วมของผู้นำอาเซียน คือการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงมีกฎกติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเมื่อปี 2551 อาเซียนได้จัดทำกฎบัตรอาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญอาเซียนเพื่อวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร
                1.2 ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยประสานงานหลัก) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยประสานงานหลัก) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยประสานงานหลัก) โดยอาเซียนได้จัดทำแผนงาน (Blueprint) สำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในแต่ละเสา ซึ่งผู้นำอาเซียนได้รับรองเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
                1.3 ในปี 2552 ไทยได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Connectivity)  เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของประชาคมอาเซียน และนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีโลก และผู้นำอาเซียนได้รับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงในอาเซียนในการประชุมสุดยอดครั้งที่ 17 ณ กรุงฮานอย ในปี 2553 ซึ่งระบุความเชื่อมโยงใน 3 รูปแบบ ได้แก่ ความเชื่อมโยงด้านกายภาพ อาทิ การพัฒนาเครือข่ายด้านคมนาคมความเชื่อมโยงด้านสถาบัน อาทิ การทำให้กฎระเบียบด้านการข้ามแดนต่างๆ มีความสอดคล้องกัน และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนรู้จักกันและเข้าใจกันมากขึ้น
2. นโยบายรัฐบาล
                2.1 รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนตามที่ได้ประกาศต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2554 ที่จะนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง โดยรวมถึงการเร่งดำเนินการตามข้อตกลงในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกหลายประการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
                2.2 การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนเป็นวาระแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการให้มีการบูรณาการยุทธศาสตร์ การทำงาน และแผนงานการเตรียมความพร้อมของไทยสู่ประชาคมอาเซียน และได้เป็นประธานการประชุมในเรื่องนี้ด้วยตนเอง
3. การเตรียมความพร้อมของไทย
                3.1 ไทยต้องสร้างความพร้อมและความเข้มแข็ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกประเทศในอาเซียนตกลงกันไว้แล้ว เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือและส่งเสริมบทบาทของไทยในอาเซียนต่อไป

ไทยกับอาเซียน




ไทยกับอาเซียน
                1. อาเซียน:จากสมาคมสู่ประชาคม
ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้มีพัฒนาการมาเป็นลำดับและไทยก็บทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนใหม่ความคืบหน้ามาโดยตลอด โดยเมื่อเริ่มก่อตั้งเมื่อปี2510สภาพแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียดอันเป็นผลมาจากสงครามเย็นซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
                ในขณะเดียวกันความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศในภูมิภาคเช่นความขัดแย้งระหว่างมลายาและฟิลิปปินส์ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวักรวมทั้งการที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมลายาทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการรวมมือกันระหว่างประเทศในภูมิภาค
                ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น ได้มีบทบาทสำคัญในการเดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ และได้เชิญให้รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซียฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่น     จ. ชลบุรี อันนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพเพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ไทยจึงถือเป็นทั้งประเทศผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นบ้านเกิดของอาเซียน
                อาเซียนได้ขยายสมาชิกภาพขึ้นมาเป็นลำดับ โดยบรูไนได้เข้าเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 ในปี 2527 และภายหลังเมื่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออีก 4 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชา ได้ทะยอยกันเข้าเป็นสมาชิกจนครบ 10 ประเทศ เมื่อปี 2542 นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยได้มีบทบาทเชื่อมโยงประเทศที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นทวีปและประเทศที่เป็นหมู่เกาะทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง
                ถึงแม้ว่า ปฏิญญากรุงเทพ จะมิได้ระบุถึงความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง โดยกล่าวถึงเพียงความร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเกษตร อุตสาหกรรม การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค แต่อาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื่องเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญ ไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิมในการแก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยซึ่งเป็นประเทศด่านหน้า
                นอกจากนี้ ประเทศไทย โดยท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ก็ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความคืบหน้า โดยการริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ขึ้นเมื่อปี 2535 โดยตกลงที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ในเวลา 15 ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ 10 ปี โดยประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2546 ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ดำเนินการเสร็จสิ้นในปี 2551
                ในปัจจุบัน บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง คือ จีนและอินเดีย รวมทั้งแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอื่น ๆตลอดจนปัญหาท้าทายความมั่นคงในรูปแบบใหม่ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)



ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ASEAN Economic Community–AEC)
1. นโยบายและเป้าประสงค์
                1.1 รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับอาเซียนในลำดับต้นๆ ในฐานะมิตรประเทศที่มีความใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด ไม่ว่าในด้านภูมิศาสตร์ความใกล้เคียงกันด้านสังคมและวัฒนธรรม รวมไปถึงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งมีมายาวนานและเหนียวแน่นที่สุด
                1.2 เป้าหมายในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวที่แข็งแกร่งและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในภูมิภาค รวมทั้งไทยด้วย
                1.3 จากเดิมที่อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ4ของไทยในปี2536ผลจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาทำให้อาเซียนกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1ของไทยตั้งแต่ปี2551ปัจจุบันอาเซียนยังเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทยนำหน้าตลาดเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องสถิติมูลค่าการค้ารวมล่าสุดระหว่างไทยและอาเซียนในปี 2556อยู่ที่1แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยยังคงได้ดุล
                1.4 ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนตุลาคม 2546 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Bali Concord II) เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่13เมื่อเดือนมกราคม2550ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้บรรลุผลจากเดิมที่กำหนดไว้ใน ปี2563(ค.ศ. 2020) เป็นปี2558(ค.ศ. 2015)โดยในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจต่างๆที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี2558 (ค.ศ. 2015)
                1.5 กรมอาเซียน ทำหน้าที่ เป็นสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (National ASEAN Secretariat) โดยเป็นไปตามข้อบทที่ 13 ของกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งกำหนดให้แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติเพื่อช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ 3 เสาหลักไปในทิศทางเดียวกันนอกจากนี้ ประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานและมีกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเสาเศรษฐกิจ
                1.6 ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำยุทธศาสตร์ประเทศในภาพรวม ซึ่งให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมและการใช้โอกาสจากการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อีกด้วย