วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประเทศไทยกับงานด้านสาธารณสุขในกรอบอาเซียน




ประเทศไทยกับงานด้านสาธารณสุขในกรอบอาเซียน
                ความร่วมมือด้านสาธารณสุขในกรอบอาเซียน มีกลไกขับเคลื่อนคือการประชุมในระดับต่าง ๆ ได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน (ASEAN HEALTH MINISTERS’MEETING: AHMM) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาสาธารณสุข (SENIOROFFICIAL’S MEETING ON HEALTH DEVELOPMENT: ASEAN SOMHD) และการประชุมระดับคณะทำงาน/ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ รวม 10 ด้าน ได้แก่ โรคติดต่อ ความปลอดภัยด้านอาหารความร่วมมือด้านเทคนิคเกี่ยวกับยา การเตรียมพร้อมและรับมือกับโรคระบาด การควบคุมยาสูบเอดส์ สุขภาพจิต สุขภาพแม่และเด็ก โรคไม่ติดต่อ และการแพทย์ดั้งเดิม
                ประเทศไทย มีบทบาทนำในการผลักดันความร่วมมือด้านสาธารณสุขของอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ด้านการเตรียมพร้อมและรับมือโรคระบาด ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยทำหน้าที่ประธานและ “Coordinating Office” ของ เครือข่ายฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม (FieldEpidemiology Training Network: FETN) ในกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (ASEAN+3) ด้านสุขภาพจิต โดยประเทศไทยได้ริเริ่มให้มีการจัดประชุมคณะทำงานสุขภาพจิต ขึ้นเป็นครั้งแรกในอาเซียนและได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะทำงานสุขภาพจิตอาเซียน ASEAN Task Force on Mental Health (AMT) และดำรงตำแหน่งประธานอยู่ในปัจจุบันจนถึงสิ้นปี 2557 ด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment – HIA)โดยประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง HIA เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ จ. ภูเก็ต และ ด้านการควบคุมยาสูบ โดยประเทศไทยเป็นผู้เสนอและผลักดันแนวคิด “Towards Smoke Free ASEAN Campaign” เมื่อปี 2554
                ประเทศไทยในฐานะประธานการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน (AHMM) ระหว่างปี2555 - 2557 ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม AHMM ครั้งที่ 11 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การประชุม AHMM+3 และ AHMM+จีน รวมทั้ง การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 2 – 6 .. 2555 ที่ จ. ภูเก็ต ซึ่งการประชุมเหล่านี้ย้ำความสำคัญของประเด็นความร่วมมือด้านสาธารณสุข ได้แก่ การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases: NCD) การลดการบริโภคยาสูบ การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) และการควบคุมป้องกันโรคเอดส์
                กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินงานความร่วมมือด้านสาธารณสุขของอาเซียนได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านวิชาการจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน และคณะอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขของประเทศไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติที่ประชุม AHMM และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องข้างต้น โดยล่าสุด เมื่อเดือนสิงหาคม 2555
                ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการติดตามผลการดำเนินงาน โดยกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละประเด็นอย่างชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
        - การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases: NCDs) ที่ประชุม AHMM เห็นพ้องให้ติดตามความคืบหน้าในการรณรงค์ให้อาเซียนปลอดบุหรี่ (“Smoke Free ASEAN”) และเห็นพ้องให้มีการจัดตั้ง “ASEAN Alcohol Control Network”
        - การควบคุมโรคเอดส์ ที่ประชุม AHMM และ ASEAN SOMHD ได้ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตาม “ASEAN Declaration of Commitment: Getting toZero New HIV Infections, Zero Discrimination, Zero AIDS-Related Deaths”ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ UNAIDS ในกรอบสหประชาชาติ

       - หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage: UHC) ประเทศไทยเป็นผู้ผลักดันให้ UHC เป็นวาระสำคัญของการประชุม AHMM และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุม AHMM และ AHMM+3 ได้เห็นพ้องให้จัดตั้งNetwork on UHC นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังมีดำริจะผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นวาระของการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องนี้ในระดับภูมิภาคต่อไป
                ในยุคโลกาภิวัฒน์ การเดินทางไปมาหาสู่กันสะดวกสบายขึ้น โรคภัยไข้เจ็บและปัญหาสุขภาพกลายเป็นปัญหาระดับโลกที่ไร้พรมแดน ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาด้านสาธารณสุขต่อการพัฒนา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ และเล็งเห็นความสำคัญของการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของจำนวนสาขาความร่วมมือ หรือระดับความร่วมมือ เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศต่าง ๆ สามารถตอบโจทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ในปัจจุบัน
                การทูตเชิงสาธารณสุข (Global Health Diplomacy) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในเวทีระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีบทบาทที่แข็งขันและมีศักยภาพสูงในการส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศไทยได้พยายามผลักดันในเวทีระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบทบาทนำของไทยในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Foreign Policy and Global Health Initiative (FPGH) ซึ่งเน้นการดำเนินงานด้านการต่างประเทศ โดยคำนึงถึงประเด็นปัญหาด้านสาธารณสุขควบคู่กันไปอนึ่ง ประเด็นความร่วมมือของอาเซียนด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ภายใต้
                อนึ่ง ประเด็นความร่วมมือของอาเซียนด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ภายใต้
แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint 2009-2015) หัวข้อการคุ้มครองและสวัสดิการสังคม ซึ่งประกอบด้วย 7 หัวข้อหลัก ได้แก่
1) การขจัดความยากจน
2) เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและโลกาภิวัฒน์
3) การส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร
 4) การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ
5) การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ
6) การรับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด
7) การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น



 ขอขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.mfa.go.th





คำถาม !!
1. ความร่วมมือด้านสาธารณสุขในกรอบอาเซียน มีกลไกขับเคลื่อนคือการประชุมในระดับต่าง ๆ ได้แก่ ??
2. การประชุมในระดับต่าง ๆ รวมทั้งหมดมีกี่ด้านได้แก่ด้านใดบ้าง ??
3. ประเทศไทย มีบทบาทนำในการผลักดันความร่วมมือด้านสาธารณสุขของอาเซียนในหลายด้าน อาทิด้านใดบ้าง ??
4. ประเทศไทยในฐานะประธานการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน (AHMM)  อยู่ระหว่างปีใด ??
5. การควบคุมโรคเอดส์ ได้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ ??
6. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาสาธารณสุขได้ย้ำความสำคัญเรื่องใด ??
7. ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้หารือเกี่ยวกับเรื่องใด ??
8. การทูตเชิงสาธารณสุข (Global Health Diplomacy) มีความสำคัญอย่างยิ่งในเวทีระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีบทบาทอย่างไร ??
9. ประเด็นความร่วมมือของอาเซียนด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ภายใต้อะไร ??
10. หัวข้อการคุ้มครองและสวัสดิการสังคม ซึ่งประกอบด้วยกี่หัวข้อหลัก ได้แก่ ??




คำตอบ !!
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน (ASEAN HEALTH MINISTERS’MEETING: AHMM) 

การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาสาธารณสุข
(SENIOROFFICIAL’S MEETING ON HEALTH DEVELOPMENT: ASEAN SOMHD) การประชุมระดับคณะทำงาน/ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ

2. 10 ด้าน ได้แก่ โรคติดต่อ ความปลอดภัยด้านอาหาร ความร่วมมือด้านเทคนิคเกี่ยวกับยา การเตรียมพร้อมและรับมือกับโรคระบาด การควบคุมยาสูบ เอดส์ สุขภาพจิต สุขภาพแม่และเด็ก โรคไม่ติดต่อ และการแพทย์ดั้งเดิม

3. ด้านการเตรียมพร้อมและรับมือโรคระบาด ด้านสุขภาพจิต ด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ด้านการควบคุมยาสูบ

4. ระหว่างปี 2555 – 2557

5. ของ UNAIDS ในกรอบสหประชาชาติ

6. ย้ำความสำคัญของประเด็นความร่วมมือด้านสาธารณสุข

7. แนวทางการติดตามผลการดำเนินงาน โดยกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละประเด็นอย่างชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

8. มีบทบาทที่แข็งขันและมีศักยภาพสูงในการส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

9. แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint 2009-2015)

10.  7) หัวข้อ
1) การขจัดความยากจน
2) เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและโลกาภิวัฒน์
3) การส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร
 4) การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ
5) การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ
6) การรับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด
7) การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น