บทบาทของไทยกับการก้าวสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community:
APSC)
ภายในปีพุทธศักราช 2558 ไทยและประเทศสมาชิกสมาคมประชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนอีก
9 ประเทศ จะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนตามเป้าหมายที่ผู้นำอาเซียนกำหนดไว้ในปฏิญญาเซบู
เมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องปฏิบัติตามแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาให้สมบูรณ์
ในส่วนของการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
หรือ ASEAN Political-Security Community (APSC) วิสัยทัศน์ของการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน อยู่บนพื้นฐานของการจัดตั้งเป็นประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน
การสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการนำไปสู่การขยายความร่วมมือในประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมรวมทั้งการสร้างประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ
มีพลวัต และมองไปยังโลกภายนอก และมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น
การทำให้ภูมิภาคมีความสงบสุขได้นั้น
ประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงที่จะร่วมมือด้านการพัฒนาทางการเมืองให้บรรลุเป้าหมายที่จะส่งเสริมธรรมาภิบาล
และหลักนิติธรรม ป้องกันการทุจริต ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
และส่งเสริมประชาธิปไตย อาเซียน โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง นอกจากนี้จะต้องแก้ไขปัญหาความมั่นคงในรูปแบบเดิมหรือที่เรียกว่า Traditional Security ซึ่งหมายถึงการสงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ
และปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ หรือ Non-Traditional Security เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งครอบคลุม การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ โจรสลัด
การลักลอบขนอาวุธ การฟอกเงิน การก่อการร้าย หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
เป็นต้น
บทบาทของไทยในการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนที่ผ่านมาหลังจากมีการจัดทำแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
เมื่อปี พ.ศ. 2552 มีหลายประการ
อาทิ การผลักดันให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
การส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการอาเซียน การส่งเสริมให้คณะมนตรีของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีผลงานเป็นรูปธรรม
เช่น การสร้างความร่วมมือด้านการรักษาสันติภาพในภูมิภาค การยกระดับบทบาทของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนในด้านการจัดการภัยพิบัติ
และความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีการสร้างความโปร่งใสด้านนโยบายและข้อมูลทางทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในรูปแบบของการจัดทำรายงานการเมืองและความมั่นคงรายประเทศ
ในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum- ARF) ไทยส่งเสริมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (ConfidenceBuilding
Measures- CBMs) และการทูตเชิงป้องกัน (Preventive
Diplomacy) โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลีในการจัดฝึกการฝึกซ้อมการบรรเทาภัยพิบัติในกรอบ
ARF (Disaster Relief Exercise-DiREx) ระหว่างวันที่ 7-11 พฤษภาคม
2556 เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการภัยพิบัติของประเทศที่เข้าร่วม
ARF โดยการประสานการปฏิบัติร่วมระหว่างหน่วยงานฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน
นอกจากนี้ ไทยผลักดันให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง โดยผลักดันให้
ประเทศผู้มีอาวุธนิวเคลียร์ลงนามในพิธีสารสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone- SEANWFZ) เพื่อให้หลักประกันต่ออาเซียนในการไม่ใช้
ทดลอง หรือส่งผ่านอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคนี้ ในการจัดการเรื่องภัยพิบัติ ไทยได้ผลักดันจนเป็นผลสัมฤทธิ์ให้ผู้นำอาเซียนได้รับรองแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านอุทกภัย
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 เมื่อ พฤศจิกายน 2554เพื่อให้อาเซียนมีการจัดการเรื่องน้ำ
อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม
ในปี พ.ศ. 2555ไทยแสดงบทบาทนำในการเสนอปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยอาเซียนปลอดยาเสพติด
ค.ศ. 2015 ซึ่งผู้นำได้รับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ 20 เมื่อเดือนเมษายน 2555 ซึ่งปฏิญญาฉบับนี้จะช่วยเสริมสร้างมาตรการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน
โดยเน้นการเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอาเซียน
และกับภาคีภายนอกซึ่งสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้จัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสมัยพิเศษด้านยาเสพติด
เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 เพื่อผลักดันประเด็นที่บรรจุไว้ในปฏิญญาฯ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ในประเด็นอาชญากรรมข้ามชาติ ไทยอยู่ในระหว่างการผลักดันประเด็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมให้เป็นหนึ่งในสาขาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติของอาเซียนในปี
พ.ศ. 2556นอกจากนี้ ไทยได้ผลักดันเรื่องความปลอดภัย
ความมั่นคง รวมถึงการพิทักษ์ผลกระทบจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ โดยได้ริเริ่มแนวคิดที่จะจัดตั้งเครือข่ายของผู้กำกับดูแลทางนิวเคลียร์ในอาเซียนขึ้นเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูล
การวัดผลสัมฤทธิ์ตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
เป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก เนื่องจากหลายมาตราที่กำหนดไว้ในแผนฯ เป็นการสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน
ซึ่งกำหนดดัชนีหรือตัวชี้วัดได้ยาก อย่างไรก็ดี อาเซียนได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานฯ
หรืออยู่ระหว่างการดำเนินแล้วกว่าร้อยละ ๘๐ ส่วนประเด็นที่อาเซียนดำเนินการตามแผนได้น้อยที่สุดคือประเด็นเรื่องการสร้างสันติภาพภายหลังความขัดแย้ง
และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เนื่องจากตามวิถีอาเซียน (ASEAN Way) อาเซียนจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก
จึงไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวได้
ปัญหาอุปสรรคสำคัญที่สุดในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
คือการสร้างค่านิยมร่วมกัน
โดยคำนึงถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมการเมือง
(political culture) ของประเทศสมาชิกอาเซียน
ความละเอียดอ่อนของประเด็นปัญหาในแต่ละประเทศสมาชิก หรือระหว่างประเทศสมาชิกกันเอง
ซึ่งจะต้องอาศัยการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น
ในระดับประเทศ อุปสรรคที่สำคัญ คือ การที่ประชาชนยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนและการขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประชาคมการเมืองและความมั่นคง
อาเซียน
ในการเตรียมความพร้อมของภาคราชการสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยบรรจุการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนเป็นหนึ่งในนโยบายหลักในการบริหารประเทศ
ในส่วนของกลไกการผลักดันพันธกรณีต่างๆ ของไทยตามแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
คณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่ง เมื่อเดือนเมษายน 2552 จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐกว่า 30 หน่วยงาน โดยมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยประสานงานหลัก
เพื่อดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานฯ ล่าสุด หน่วยงานต่างๆ อยู่ในระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ปี 2558 ซึ่งเป็นแผนบูรณาการการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนทั้งสามเสา เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
การก้าวไปสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจำเป็นจะต้องมีการผลักดันอย่างแข็งขันทั้งจากภายในประเทศ
และในระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเอง จากการหารือในระดับเจ้าหน้าที่ของประเทศอาเซียนด้วยกัน
พบว่า ไทยเป็นประเทศที่มีกลไกในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนที่แข็งขันที่สุด รวมทั้งมีกิจกรรมการสร้างการตระหนักรู้แก่ประชาชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ในอีก 3 ปีที่เหลือ ไทยจะต้องแสดงบทบาทนำต่อไปในการผลักดันประเด็น
ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้า อย่างเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน
เช่น ประเด็นการสร้างธรรมาภิบาล การปราบปรามการทุจริต ความโปร่งใส เป็นต้น นอกจากนี้
จะต้องมีการแก้ไขกฏหมายภายในเพื่อให้สอดคล้องและรองรับพันธกรณีต่างๆ ของไทยตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
และแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
อีก
2 เสา ด้วย
ภาโณตม์ ปรีชญานุต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.mfa.go.th
คำถาม !!
1. ในปีพุทธศักราชที่จะเข้าสู่อาเซียน
??
2. เมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องปฎิบัติตามแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอย่างไร
??
3. บทบาทของไทบในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเป็นอย่างไร
??
4. ในปี พ.ศ. 2555
ไทยแสดงบทบาทนำในการเสนอปฎิญญาอาเซียนอย่างไร ??
5. ประเทศใดได้รับรองในการประชุมยอดอาเซียนครั้งที่
20 เมื่อ เมษายน 2555 ??
6. ปัญหาอุปสรรคสำคัญที่สุดในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่งคงอาเซียน
??
7. ในการจัดตั้งอาเซียนประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐกี่หน่วยงาน
??
8. อาเซียดำเนินการตามแผนได้น้อยที่สุดคือ
??
9. อาเซียนในปี พ.ศ. 2556
ไทยได้ผลักดันในเรื่องใด ??
10. Traditional Secuvity หมายถึง ??
คำตอบ
!!
1. พ.ศ. 2558
2. อาเซียนทั้งสามเสา
3. แผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
เมื่อปี พ.ศ. 2552 มีหลายประการ อาทิ
การผลักดันให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
การส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการอาเซียน
4. ด้วยอาเซียนปลอดยาเสพติด ค.ศ. 2015
5.
ประเทศไทย
6.
การสร้างค่านิยมร่วมกัน โดยคำนึงถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมการเมือง (political culture)
7. 30 หน่วยงาน
8. ประเด็นที่บรรจุไว้ในปฏิญญาฯ
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในประเด็นอาชญากรรมข้ามชาติ
9. เรื่องความปลอดภัย ความมั่นคง
รวมถึงการพิทักษ์ผลกระทบจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์
โดยได้ริเริ่มแนวคิดที่จะจัดตั้งเครือข่ายของผู้กำกับดูแลทางนิวเคลียร์ในอาเซียนขึ้นเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และ
ข้อมูล
10. สงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ และปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น